Event

ยูเนสโกและกลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) จัดการประชุม EEA ครั้งที่ 9

การประชุม EEA ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยเน้นหัวข้อ ‘การพัฒȨȨยบาย๶พื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่ยืึϸยุ่นสำหรับผู้เรียนทุกคน’
Concept photo for LGBTI, learner with disability and youth not in employment/training
Event
The 9th Equitable Education Alliance (EEA) Meeting: ‘Flexible Learning for Policy Development Towards Inclusion for All’
-
Location
Pathum Thani, Thailand
Rooms :
Pathum Thani, Thailand
Type :
Cat VIII - Symposia
Arrangement type :
Virtual

กลุ่มพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEA) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 โดยมีสำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประธาน EEA เป็นชุมชนของนักปฏิบัติการจากองค์กรต่าง ๆ กระทรวงและหน่วยงานรัฐ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งพยายามผลักดันไปสู่ระบบการศึกษาที่ครอบคลุมและเสมอภาคมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพในทุกระดับให้กับองค์กรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีอยู่แล้ว

กลุ่มพันธมิตรจัดการประชุม 4 ครั้งต่อปีเพื่อหารือและยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน มีทั้งหมด 18 ประเทศ[1] และ 22 องค์กรท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศ[2] ที่เข้าร่วมประชุมและแบ่งปันความเชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในระบบการศึกษา ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค

ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก คนทำงานหนุ่มสาวได้รับการศึกษามากขึ้น แต่ยังขาดโอกาสในการทำงานที่เหมาะสมในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดย 1 ใน 4 อยู่ในสภาวะยากจนขั้นรุนแรงถึงยากจนปานกลาง (ต่ำกว่า 3.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน) เทียบกับร้อยละ 18 ของผู้ใหญ่ คนหนุ่มสาวร้อยละ 30 ทั่วโลกไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงาน หรือการฝึกอบรม (เรียกว่า ‘NEET’) เกือบ 3 ใน 4 ของ NEET ในเอเชียและแปซิฟิกเป็นหญิงสาว ซึ่งหลายคนทำงานในด้านการดูแลและทำผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองที่บ้าน[3]

นอกจากนี้ จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่เปิดกว้างมากขึ้นสำหรับเยาวชน LGBTIQ+ และนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษด้วย การเลือกปฏิบัติต่อเยาวชน LGBTIQ+ ในโรงเรียนยังคงเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากพวกเขายังคงเผชิญกับอัตราความรุนแรงประเภทต่าง ๆ ที่สูงกว่าผู้อื่นในรั้วมหาวิทยาลัย และประมาณร้อยละ 45 ของเยาวชน LGBTIQ+ ทั่วโลกรายงานว่าถูกกลั่นแกล้ง[4] สถานการณ์นี้ไม่เพียงทำให้ผลการเรียนถดถอยและทำให้อัตราการออกกลางคันสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียนรุ่นเยาว์ แม้หลังพ้นวัยเรียนไปแล้ว ดังนั้น จำเป็นต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน นอกจากนี้ นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษควรได้รับการพิจารณาอย่างเจาะจงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษาเพื่อปวงชน เนื่องจากมีรายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 50 ของเด็กที่มีความพิการไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา โดยอัตราการไม่เข้าเรียนสูงถึงร้อยละ 90 ในพื้นที่ชนบทบางพื้นที่[5] ดังนั้น นักการศึกษาต้องเร่งดำเนินการและตอบสนองในเชิง

บวกต่อผู้เรียนทุกคนที่มีความพิการหรือความยากลำบากตลอดเส้นทางการศึกษาของพวกเขา การมีส่วนร่วมจากโรงเรียนและรัฐบาลในการเสริมความช่วยเหลือทางเทคนิคและการจัดเตรียมหลักสูตรที่ตรงต่อความต้องการมากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการศึกษาจะนับรวมทุกกลุ่มคน

เพื่อตอบสนองต่อประเด็นเหล่านี้และประเด็นอื่น ๆ การประชุม EEA ครั้งที่ 9 จะเน้นหัวข้อ ‘การพัฒȨȨยบาย๶พื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่ยืึϸยุ่นสำหรับผู้เรียนทุกคน’ ในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ การประชุมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไปและส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ การประชุม EEA ครั้งที่ 9 นี้ยังมีเป้าหมายที่จะสรุปความสำเร็จ ความท้าทาย และข้อคิดสะท้อนโดยทั่วไปสำหรับ EEA ในปี พ.ศ. 2566 และจะบ่งชี้ถึงโอกาสในการทำงานร่วมกัน ตลอดจนผู้ที่สามารถเป็นสื่อกลางและรวมตัวกันทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาก้าวต่อไปของ EEA รวมทั้งวางแผนและติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมหลักสำหรับปี พ.ศ. 2567 สิ่งที่เติมเต็มการประชุม EEA คือ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลความเสมอภาคทางการศึกษา (EquityEdHub หรือ EEH) ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแบ่งปันความรู้ โดยมีเป้าหมายเพื่อ 1) ให้ผู้เรียนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งก็คือการบรรลุเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรในการยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านความพยายามร่วมกัน และ 2) มอบการสนับสนุนที่มีแก่นสารในด้านเทคนิคให้กับผู้ที่ต้องการ


[1] ออสเตรเลีย กัมพูชา แคนาดา จีน ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐปานามา ไทย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

[2] องค์การวิจัยด้านการศึกษาแห่งออสเตรเลีย (AERO), Educate A Child (EAC), Educational Endowment Foundation (EEF), กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ประเทศไทย, กองทุนการศึกษาโลก (GPE), สถาบันเพื่อความเป็นผู้นำทางการศึกษา (IEL), องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งชาติ (NILE), ประถม, Pakistan Coalition for Education (PCE), Promise Neighborhoods, องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO), เอสไอแอล อินเทอร์เนชันนัล, สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ, UNHCR ปากีสถาน, ยูนิเซฟ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, ยูนิเซฟ ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (LACRO), ยูนิเซฟ เนปาล, ยูนิเซฟ ประเทศไทย, VVOB – การศึกษาเพื่อการพัฒนา และธนาคารโลก

[3] Tackling the COVID-19 youth employment crisis in Asia and the Pacific: International Labour Organization, Bangkok (Thailand), and Asian Development Bank, Manila (Philippines), 2020.

[4] LGBTIQ+ youth: bullying and violence at school. UNESCO. 2023.

[5] เอกสารรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2. UNESCO. 2022.

วัตถุประสงค์การประชุม EEA ครั้งที่ 9 (สัมมนาผ่านเว็บ)

ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไป:

1. แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์เกี่ยวกับนโยบายการศึกษาสำหรับชนกลุ่มน้อยทางเพศสภาพ เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนที่โรงเรียน รัฐบาล และระบบกฎหมายสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้ง ส่งเสริมความเข้าใจ และเพิ่มสุขภาวะทางจิตที่ดีให้กับผู้เรียนรุ่นเยาว์ สำรวจอุปสรรคและความสำเร็จในการมอบเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน (CSE) ในประเทศไทย และพิจารณาทิศทางในอนาคตสำหรับการมอบเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น

presenter on LGBTI learners at the 9th EEA Meeting

2. แบ่งปันประสบการณ์การดำเนินโครงการ การพัฒนา และผลลัพธ์ขององค์กรระดับภูมิภาค เช่น มูลนิธิอาเซียน ในการสนับสนุนคนทำงานหนุ่มสาวและเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงาน หรือการฝึกอบรม (NEET) และสาธิตวิธีการมอบโอกาสการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในอาเซียนโดยร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภายนอก

presenter on NEET at the 9th EEA Meeting

3. สำรวจมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาล สถาบันการศึกษา และนักการศึกษาสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มการสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านเทคนิค เพื่อให้การศึกษากระแสหลักสามารถครอบคลุมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้อย่างมีประสิทธิผล

presenter on learners with special needs at the 9th EEA Meeting

ส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ:

  1. หารือเรื่องการเตรียมการจัดงาน ‘All For Education’ (AFE) ครั้งที่ 3 ในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2567
  2. รายงานและหารือ๶กี่ยวกับความคืบหȨาྺองกิจกรรมโึϸองค์กรหลัก
  3. สรุปความสำเร็จ ความท้าทาย และข้อคิดสะท้อนโดยทั่วไปสำหรับ EEA ในปี พ.ศ. 2566
  4. ระดมความคิดและกำหนดแผนและช่วงของการพัฒนา EEA สำหรับปี พ.ศ. 2567

ผู้เข้าร่วม

  • ผู้บริหารการศึกษาในท้องถิ่น ผู้อำนวยการเขต ครูใหญ่ ครู และพันธมิตรอื่น ๆ ที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา
  • นักปฏิบัติการ: ชุมชน LGBTQ+ นักปฏิบัติการด้านการศึกษาสำหรับ NEET นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และกลุ่ม LGBTQ+
  • ผู้ที่มีศักยภาพเป็นสมาชิกของ EEA รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ตลอดจนองค์กรและประเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน
  • สมาชิก EEA รวมถึงประเทศสมาชิก ตัวแทนประเทศและตัวแทนองค์กร นักปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และหน่วยงานระหว่างประเทศที่สนับสนุนและทำงานมุ่งสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา

วัน เวลา และสถานที่

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สัมมนาออนไลน์ 13.30–14.45 น. (UTC+7)

กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้า หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับอีเมลยืนยัน ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมประชุม พร้อมกับลิงก์การประชุมอย่างเป็นทางการ หมายเหตุ : การประชุมผ่าน Zoom รองรับผู้เข้าร่วมได้ 500 ท่านแรกเท่านั้น

การประชุม EEA ครั้งที่ 9 จะสตรีมสดผ่านช่องทาง Facebook Live  เป็นภาษาอังกฤษ และ เป็นภาษาไทย การประชุมจะดำเนินในรูปแบบภาษาอังกฤษ พร้อมคำบรรยายภาษาไทยตลอดการประชุม

วาระ๶บื้องต้น

ส่วนสำหรับบุคคลทั่วไป:&Բ;

ผู้ดำเนินรายการ: คุณ Min-Seon Park ผู้เชี่ยวชาญโครงการ สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งชาติ (NILE) สาธารณรัฐเกาหลี

คํากล่าวเปิด (5 นาที) 
กล่าวเปิดโดย NILE (กำหนดไว้เบื้องต้น)

ช่วงแบ่งปัȨวามรู้แบบเปิด (45 นาที) 
การพัฒȨȨยบาย๶พื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่ยืึϸยุ่นสำหรับผู้เรียนทุกคน

· วิทยากรท่านที่ 1: NEETS 
คุณ Ilan Asqolani (ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิอาเซียน)

· วิทยากรท่านที่ 2: เพศสภาพและวิกฤติสุขภาพจิตของเยาวชนคนกลุ่มน้อยทางเพศ: ภาคการศึกษาควรทำอะไร?
ดร.ติโหมะ โอะหยะเน็น (คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

· วิทยากรท่านที่ 3: ความต้องการพิเศษ 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ถาม-ตอบ (25 นาที)
การเสวȨและถาม-ตอบ

คำกล่าวปิด (5 mins)
กล่าวปิดโดย NILE (กำหนดไว้เบื้องต้น)

พัก - 15 นาที

ส่วนสำหรับสมาชิก EEA โดยเฉพาะ:

ผู้ดำเนินรายการ: คุณยวิ๋นคัง หลิว ที่ปรึกษา ยูเนสโก กรุงเทพฯ

คำกล่าวเปิด (5 นาที)
กล่าวนำโึϸผู้ดำเȨȨายการ

ความคืบหȨาและข้อเสนอแȨ (10 นาที)

  • ความคืบหȨาโครงการ
  • ข้อเสนอแนะจากสมาชิก EEA

AFE 2024 (20 นาที)

  • EEF เป็นผู้นำการเสวนาเรื่องการเตรียมความพร้อมสำหรับ AFE ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2567 โดย คุณอนันต์ และ คุณกิติพร
  • การเสวนากับสมาชิก EEA ผ่าน mirror board

ความคืบหȨาทั่วไปจากสมาชิก (20 นาที)

  • GPE - ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’: บล็อกจัดพิมพ์ร่วมกัน
  • VVOB - กิจกรรมการทำแผนที่
  • ยูเนสโก กรุงเทพฯ - ความคืบหȨาโครงการ บทสรุป และแนวโน้มในอนาคต

คำกล่าวปิด (5 นาที)
กล่าวปิดและให้ความคืบหน้าเกี่ยวกับการประชุม EEA ครั้งที่ 10 โดยผู้ดำเนินรายการ

หากท่าȨ้องการข้อมูล๶พิ่ม๶ติม

โปรดติึϸ่อ

  • คุณปพล วุฒิไกรเกรียง รองเจ้าหน้าที่โครงการ การรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาทักษะ (EISD) สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ ที่ p.dhutikraikriang(at)unesco.org&Բ;และส่งสำ๶Ȩถึง eisd.bgk(at)unesco.org
  • คุณยวิ๋นคัง หลิว ที่ปรึกษา การรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาทักษะ (EISD) สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ ที่ y.liu3(at)unesco.org และส่งสำ๶Ȩถึง eisd.bgk(at)unesco.org

#EquitableEducation

More from UNESCO Bangkok