Idea

AI จะลดช่องว่างการเรียนรู้ในโรงเรียนในประเทศไทยได้หรือไม่

AI สามารถจัดสรรการเรียนรู้เฉพาะบุคคลและลดช่องว่างทางการศึกษาในไทยได้ แต่ความท้าทายหลายประการต้องได้รับการจัดการ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและศักยภาพครู
a teacher and students using a tablet

โดย มิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่  ผู้ประสาȨานสหประชาชาติประจำประเทศไทย, มารีนา ปาทรีเย รองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายการศึกษา สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ และ คยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย 

เนื่องในโอกาสวันการศึกษาสากลซึ่งตรงกับวันที่ 24 มกราคม เราควรมาพิจารณาถึงศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพลิกโฉมการศึกษา นับเป็นวาระอันสมควรยิ่งที่วันสำคัญดังกล่าวในปีนี้จะมุ่งประเด็นไปที่ AI เพราะว่าโลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับวิกฤตการศึกษาครั้งใหญ่ กระทั่งก่อนโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเด็ก 128 ล้านคนไม่ได้ไปโรงเรียน และมีเด็กอีกหลายล้านคนมีความเสี่ยงที่จะเลิกเรียนกลางคัน ในกลุ่มเด็ก ๆ ที่เรียนหนังสืออยู่ หลายคนเสี่ยงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นักเรียนครึ่งหนึ่งในเอเชียแปซิฟิกขาดทักษะการอ่านเขียนและการคำนวณขั้นพื้นฐานเมื่อเรียนจบชั้นประถม

เราจำเป็นต้องจัดสรรการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในอนาคต ซึ่งรวมถึงการเตรียมพร้อมให้แรงงานแห่งอนาคตมีทักษะสีเขียว ในประเทศไทยมีนักเรียนจำนวนมาก อย่างเช่น ยุพารัตน์จากจังหวัดเชียงใหม่และอธิชาติจากจังหวัดสกลนคร ที่จินตนาการถึงโรงเรียนซึ่งเปิดรับเทคโนโลยี การเขียนโค้ด และ&Բ;AI วิสัยทัศน์ของเด็ก ๆ ตอกย้ำว่าระบบการศึกษาจำเป็นที่จะต้องก้าวทันการปฏิวัติดิจิทัล

ยุพารัตน์ นักเรียนวัย 15 ปีจากจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โรงเรียนในอนาคตของหนู ควรส่งเสริม coding และ&Բ;AI ให้ได้ฝึกปฏิบัติ ได้ลงมือทำเธอใช้รถเข็นสำหรับผู้พิการ และในการให้สัมภาษณ์กับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เธอเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมี การเรียนรู้เฉพาะบุคคลและห้อง๶รียนที่มีความยืดหยุ่น

อธิชาติ วัย 15 ปีจากจังหวัดสกลนคร เสริมว่า ตอนนี้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกคน และผมคิดว่าเราต้องใช้มันมาช่วยทำให้ชีวิตเราดีขึ้นอธิชาติเป็นหนึ่งในสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดในคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชนของยูนิเซฟ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้คำแนะนำแก่ยูนิเซฟและภาคีเครือข่าย ซึ่งรวมถึงรัฐบาลไทย ในการปฏิรูปการศึกษา

นายอันโตนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ว่าการพัฒนา AI ควรให้ประโยชน์แก่ทุกคน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา บรรดาผู้นำโลกได้รับรองข้อตกลงเพื่ออนาคต (Pact for the Future) ซึ่งหมายรวมถึงกรอบการทำงานสำหรับการกำกับดูแลเทคโนโลยีดิจิทัลระดับโลก (Global Digital Compact หรือ GDCGDC ระบุแนวทางใช้ประโยชน์จากศักยภาพྺอง&Բ;AI และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล โดยมีสหประชาชาติให้คำมั่นเป็นผู้นำความพยายามนี้ ในประเทศไทย สหประชาชาติกำลังร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะให้ประโยชน์กับนักเรียนทุกคน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดโอกาส ความร่วมมือดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า AI จะเป็นเครื่องมือสำหรับการนับรวมทุกกลุ่มคน ไม่ใช่การกีดกันแบ่งแยก

AI มีศักยภาพที่จะลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยการปรับการเรียนรู้ให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคน ยกระดับประสิทธิภาพการสอน และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เราจะต้องหาสมดุลระหว่างศักยภาพดังกล่าวและความเสี่ยงต่าง ๆ 

รวมถึงความเสี่ยงว่าความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลจะขยายวงกว้างขึ้น แม้ว่ากว่าร้อยละ 97 ของโรงเรียนในประเทศไทยจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำสูงเมื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนในชนบท นอกจากนี้ เพียงร้อยละ 16 ของครัวเรือนมีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้าน  อีกทั้งนักเรียนจำนวนมากยังขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง และมากกว่าครึ่งหนึ่งของวัยรุ่นอายุ 16-19 ปีไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการทำงานนำเสนอ ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้อาจทำให้เทคโนโลยีกลายเป็นอุปสรรค แทนที่จะเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้

ครูมีบทบาทสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์จากกรุงเทพฯ อธิบายว่า คุณภาพผลงานของนักเรียนมักจะบ่งบอกว่านักเรียนคนนั้นมีคอมพิวเตอร์ใช้ที่บ้านหรือไม่ และนักเรียนหลายคนขาดทักษะพื้นฐานในการใช้ AI หรือ๶ครื่องมือค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ครูธȨรรธน์กล่าวว่า&Բ;Ȩกเรียนส่วนใหญ่ที่ใช้ ChatGPT ในการทำการบ้าน จะไม่เข้าใจคำตอบที่ได้มาหลายคนไม่สามารถใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะคัดลอกผลลัพธ์แรกที่พบ คุณครูเสริมว่าถ้านัก๶รียนไม่สามารถเลือกคีย์๶วิร์ึϸำหรับ Google ได้ แล้วจะเขียนพรอมต์ที่ชัดเจนหรือตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบจาก ChatGPT ได้อย่างไร

ครูหลายท่าȨȨȨ้ำถึงความสำคัญของการก้าวให้ทัน๶ทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวด๶ร็ว

นูรฮายาตี ดือราดอะ ครูโรงเรียนบ้านธารมะลิ จังหวัดยะลา กล่าวว่า การเป็นครูต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะดิจิทัล” อย่างไรก็ตาม เธอเผยให้เห็นถึงความท้าทายที่ครูในพื้นที่ห่างไกลต้องเผชิญ ด้วยความที่โรงเรียนของเราล้อมรอบด้วยภูเขา เราจะมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต

ยูเนสโกสนับสนุนครูด้วยกรอบสมรรถนะทางปัญญาประดิษฐ์ (AI Competency Framework) ซึ่งมอบแนวทางที่เน้นชุดความคิดที่ให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง จริยธรรม AI ความรู้ขั้นพื้นฐาน และการแก้ไขปัญหาด้วย AI นอกจากนี้ โครงการ One Teacher Thailand ของยูนิเซฟช่วยครูมากกว่า 500,000 คนในการยกระดับความรู้เชิงเทคȨคྺองครู

รัฐบาลไทยได้ดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ที่น่าชื่นชมในด้านนี้ เช่น โครงการ Coding for All และแผนยุทธศาสตร์ AI ระดับชาติ เพื่อส่งเสริมความพยายามเหล่านี้ สหประชาชาติได้สนับสนุนให้มีการลงทุนด้านการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วย AI การฝึกอบรมครู โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ที่เสริมสร้างการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะมีความสำคัญในการยกระดับการเข้าถึงเครื่องมือและทรัพยากรด้าน AI เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ตอกย้ำความสำคัญของระเบียบวิธีการประเมินความพร้อม (Readiness Assessment Methodology) ของยูเนสโก ซึ่งเป็นเครื่องมือวินิจฉัยว่าประเทศต่าง ๆ มีความพร้อมมากน้อยเพียงใดในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การกำกับดูแล การลงทุน นโยบายด้านสังคม และสถาบันสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ AI

ประเทศไทยกำลังเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI” ในเดือนมิถุนายน พ.. 2568 งานนี้จะตอกย้ำถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบาย นักการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อให้แน่ใจว่า AI จะได้รับการพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีจริยธรรม นอกจากนี้ สหประชาชาติยังสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทยในระดับนโยบาย หากเราให้ความสำคัญกับการนับรวมทุกกลุ่มคน ความเสมอภาค และความเป็นธรรม เราจะสามารถสร้างระบบการศึกษาที่สนับสนุนให้เด็กทุกคนเติบโตได้อย่างสมบูรณ์

นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการสร้างความเสมอภาค การนับรวมทุกกลุ่มคน และการเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่สามารถหาหนทางของตนในโลกที่ซับซ้อนและขับเคลื่อนด้วย AI เราต้องให้ค่ากับวิสัยทัศน์ของนักเรียนอย่างยุพรัตน์และอธิชาติ และเราต้องทำให้แน่ใจว่าเด็กและผู้เรียนทุกคนจะพร้อมก้าวสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล

๶กี่ยวกับผู้เขียน

มิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่  เป็นผู้ประสาȨานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติในประเทศไทย, มารีนา ปาทรีเย เป็นรองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายการศึกษา สำนักงานยูเนสโกส่วนภูมิภาค ณ กรุงเทพฯ และ คยองซอน คิม เป็นผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวันการศึกษาสากล 2568.


#EDCoordinationAsiaPacific #EducationPolicyPlanning #DigitalTechnologies #FutureOfEducation #TeachersDevelopment

More from UNESCO Bangkok