Publication
การสอนึϹวยมรึϸภูมิปัญญาทางวัոธรรมในการศึกษาȨกระบบและตามอัธยาศัย
คู่มือล่มนี้จัึϸำྺึ้Ȩึϸมีจุึϸุ่งหมายเพื่อสนับสนุนศูȨ์การรียนชุมชȨห้สามารถȨมรึϸภูมิปัญญาทางวัոธรรมข้ามาใช้พัոาเȨ้อหาและวิธีจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรหรือกิจกรรมการศึกษาที่ึϸȨȨารอยู่
เนื้อหาทั้ง 8 บทครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ตลอดจนคำศัพท์ แนวคิด และแนวทางที่สำคัญ โดยบางส่วนได้อ้างอิงมาจากแหล่งข้อมูลระดับนานาชาติ อาทิ
- คู่มือประกอบอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Kit of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage)
- ชุดเครื่องมือ “การวางแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ซึ่งจัดทำโดยโครงการสร้างกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการตลาดที่สอดคล้องกับมรดกท้องถิ่น (Heritage Sensitive Intellectual Property and Marketing Strategies/HIPAMS) ประเทศอินเดีย และได้รับอนุญาตภายใต้ใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ (CC-BY-NC)
- หลักการทางจริยธรรมของอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก (UNESCO Intangible Heritage Convention’s Ethical Principles) ค.ศ. 2015
- ชุดคู่มือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Infokit: Intangible cultural heritage and sustainable development)
นอกจากนี้ คู่มือเล่มนี้ยังนำเสนอกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งได้จากการดำเนินโครงการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านศูนย์การเรียนชุมชนในประเทศไทย ที่มีศูนย์การเรียนชุมชนและหน่วยงานระดับอำเภอภายใต้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทั้งหมด 8 แห่ง ร่วมถอดบทเรียนนำร่องการใช้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานการเรียนรู้ ระหว่างปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2565 กรณีศึกษาเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการศึกษาในบริบทของประเทศไทยโดยเฉพาะ
#IntangibleCulturalHeritage #LivingHeritage #Literacy&LifelongLearning